ไม่สับสนกับคำว่า เซน (ชื่อนิกาย)
ศาสนาเชน เรียกอีกอย่างว่า ไชนะ หรือ ชินะ แปลว่า ผู้ชนะ ศาสนานี้เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย อนุมานกาลราวยุคเดียวกับสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งในลัทธิสำคัญทั้ง หก ที่เกิดร่วมสมัยกับ พระพุทธเจ้า
ศาสนาเชนไม่นับถือพระเจ้าหรือเทพเจ้า ถือหลักการไม่เบียดเบียน หรืออหิงสาอย่างเอกอุ ถือว่าการบำเพ็ญตนให้ลำบากคืออัตตกิลมถานุโยค เป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรมที่ ผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดทางกาย วาจา ใจ
มีศาสดาคือพระมหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตร
จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนานี้คือการบำเพ็ญตนให้หลุดพ้นจากกิเลส หลุดพ้นจากสังสารวัฏ โดยเรียกว่าโมกษะ โดยนักบวชในศาสนานี้ใช้วิธีการตัดกิเลสโดยไม่นุ่งผ้าเรียกว่า นิครนถ์ แปลว่า ไม่มีกิเลสผูกรัด
ปัจจุบันมีเชนศาสนิกชนประมาณ ๖ ล้านคน ทั่วอินเดีย โดยมากมีฐานะดี เพราะเป็นพ่อค้าเสียส่วนใหญ่
ข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือน
- เว้นจากการฆ่าสัตว์
- เว้นจากการพูดเท็จ
- เว้นจากการลักฉ่อ
- สันโดษในลูกเมียตน
- มีความปรารถนาพอสมควร
- เว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นอาหาร
- อยู่ในเขตของตนตามกำหนด
- พอดีในการบริโภค
- เป็นคนตรง
- บำเพ็ญพรตประพฤติวัตรในคราวเทศกาล
- รักษาอุโบสถ
- บริบูรณ์ด้วยปฏิสันถารต่ออาคันตุกะ
ข้อปฏิบัติของบรรพชิต
- ห้ามประกอบเมถุนธรรม
- ห้ามเรียกสิ่งต่างๆว่าเป็นของตนเอง
- กินอาหารเที่ยงแล้วได้ แต่ห้ามกินในราตรี
นิกายของศาสนาเชน
เมื่อพระมหาวีระสิ้นไปแล้วศาสนิกก็แตกแยกกันปฏิบัติหลักธรรม จากหลักธรรมที่เรียบง่ายก็กลาย เป็นยุ่งเหยิง พ.ศ. 200 ก็แตกเป็น 2 นิกาย คือ- นิกายทิคัมพร นุ่งลมห่มฟ้า
- นิกายเศวตัมพร นุ่งขาวห่มขาว
คัมภีร์ทางศาสนา
คือ คัมภีร์อาคมะ หรือ อาคมที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%99